6 เรื่องเล่าจากเพื่อนผู้ชำนาญเรื่องแมว

596

พวกเราหลายคนมีสัตว์เลี้ยงเป็นน้องแมวอยู่ที่บ้านบางคนนั้นมีมากกว่าหนึ่งตัวด้วยซ้ำไปแต่ไม่ว่าจำนวนที่เลี้ยงมานั้นจะมากหรือน้อยแค่ไหนก็ยังคงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเค้าแทบจะเดาทางเจ้าแมวเหมียวเหล่านี้ไม่ออกเลยเราได้ฟังแบบนั้นก็ต้องสงสัยเพราะพวกเราชาวสัพเพเหระนั้นถึงจะไม่ได้เลี้ยงหรือดูแลเจ้าเหมียวเหล่านี้ แต่ก็แอบคิดไปว่าถ้าหากเราได้คลุกคลีกับเจ้าเหมียวนานๆหรือผ่านการเลี้ยงหรือดูแลแมวหลายหลายตัวมาก่อนก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เรารู้จักนิสัยใจคอของเหล่าแมวน้อยไม่มากก็น้อยบ้างแหละ แต่คำตอบที่ได้ก็คือเจ้าเหมียวนั้นช่างมีความเป็นตัวของตัวเองสูงมากและสิ่งที่มันทำก็ไม่สามารถกะเกณฑ์อะไรได้เลยอย่างเช่นเมื่อเห็นน้องชอบเล่นของเล่นเวลาที่ไปเยี่ยมบ้านคนอื่นแต่พอลองหามาให้น้องเล่นที่บ้านก็กลายเป็นว่ากลับไม่สนใจอะไรเลย หรือแม้กระทั้งเตียงใหม่ที่ดูจะสดวกสบายอยู่น้องก็กลับไม่สนใจเอาแต่วิ่งเข้าไปนอนเล่นในกล่องที่ใส่เตียงมาด้วยซ้ำ นี้ยังไม่รวมเรื่องของอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดที่เราเดาทางไม่ถูกอีกด้วยอย่างที่เราเจอกันบ่อยๆก็คือนอนที่กำลังทำท่ายิ้มเวลาเล่นเกาท้องก็กลับงับมือและทำเสียงฟ่อๆใส่เราได้ทันที

วันนีพวกเราก็เลยลองหาคำแนะนำหรืออะไรที่จะมาอธิบายเรื่องนี้แบบมีหลักการณ์สักหน่อยซึ่งก็ทำให้เราได้เจอเรื่องราวของ Tatiana Kulikova ที่ทำงานเกี่ยวกับการแก้ไขพฤติกรรมแมวมาแล้วถึง 11 ปีแล้ว ซึ่งเธอยังสร้างบล็อกให้คำปรึกษา อีกทั้งยังแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆบน Instagram อีกด้วยซึ่งเรื่องราวที่ส่งต่อต่อกันก็คือวิธีการที่จะเข้าใจภาษาของสัตว์เลี้ยงที่น่ารักที่เรามีอยู่นั้นเองอีกทั้งยังมีเรื่องราวที่จะทำให้เหล่าสัตว์เลี้ยงของเรามีความสุขมากมากอีกด้วยนะ

© Zoopsiholog.jimdo.com
สิ่งแรกเลยที่เราอยากจะพูดคุยกับเพื่อนเพื่อนเลยนั้นก็คือหลายหลายคนกำลังพูดถึงการเลี้ยงแบบระบบเปิดหรือระบบปิดนั้นเองแบบไหนถึงจะเหมาะสมกว่า
© Peter van der Sluijs
ซึ่งเราไม่อยากจะบอกว่าอะไรดีกว่าเพราะคำว่าดีของแต่ละคนไม่เหมือนกันและดีของแมวหรือดีของคนเลี้ยงก็ยังต่างกันอีกด้วย มาเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนว่าอันที่จริงแล้วเจ้าเหมียวนั้นเป็นสัตว์เลี้ยงที่หลายหลายคนนั้นสามารถปล่อยให้อยู่นอกบ้านกันมาได้ พวกเราจะพบเห็นเจ้าแมวหลากหลายสีตามถนนหนทางต่าง ๆ และก็คิดว่ามันคือหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุดเพราะเราแทบไม่เห็นว่ามันจะป่วยเลยทั้งที่ทานอาหารทุกอย่างจากถังขยะหรือไม่ก็อาหารที่อยู่ตามพื้น รวมไปถึงหนูหรือนกอีกด้วย ซึ่งการที่เลี้ยงแบบระบบเปิดหรือปล่อยอิสระมันก็อาจจะฟังดูดีเพราะเท่ากับว่าเราไม่ได้ให้เจ้าเหมียวอยู่แต่ในบ้านแต่มันยังสามารถเดินออกไปที่ไหนก็ตามทันทีที่มันต้องการ แต่การเลี้ยงแบบนี้ก็จะพบกับเรื่องบางเรื่องอย่างเช่นการเล่นซนของเจ้าเหมียวนอกบ้านเพราะแมวมักจะชอบที่จะปีนต้นไม้หรือกำแพงเล่นแต่บ่อยครั้งก็ลงมาเองไม่ได้ซึ่งเราก็ต้องค่อยไปดูแลอยู่เรื่อยๆ หรือก็อาจจะมีการแสดงพลังระหว่างแมวด้วยกันหรือบางครั้งคุณก็อาจจะได้เป็นเจ้าของแมวตัวน้อยเพิ่มขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวเพราะเจ้าเหมียวของคุณท้องซะแล้วหลังจากออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน

และอีกหลายหลายบ้านที่ไม่อยากให้เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นก็ทำการเลี้ยงดูเจ้าเหมียวด้วยระบบปิดโดยการให้อยู่แต่ภายในพื้นที่ที่จำกัด แต่สิ่งที่เราจัดหามานั้นก็มิอาจที่จะตอบสนองความต้องการทั้งหมดได้ของเจ้าเหมียวได้ พวกเขาจึงอาจจะรู้สึกกังวลอีกทั้งยังขาดกิจกรรมที่ควรจะมีในการออกกำลังอีกด้วย ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลี้ยงแบบระบบปิดหรือเปิดนั้นคุณก็สามารถทำได้เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องหาข้อมูลและเตรียมกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมไว้ให้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เจ้าเหมียวอยู่ได้อย่างแข็งแรงและมีความสุขนั้นเอง

การฝึกและการสังเกตุจะทำให้เราควบคุมพฤติกรรมของเจ้าเหมียวได้
© amandil_eldamar / Flickr
สิ่งที่ทำให้มนุษย์เติบโตและเจริญก้าวหน้าได้นั้นก็คือเราสามารถพัฒนาและฝึกฝนตัวเองและฝึกฝนคนอื่นๆได้ และอันที่จริงเจ้าเหมียวของเรามันก็ตอบสนองต่อการฝึกสอนได้เหมือนกันดังนั้นพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของสัตว์เลี้ยงก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ อย่างเช่นหากแมวของคุณกำลังส่งเสียงร้องอย่างเงียบ ๆ ใกล้ประตูหน้า เจ้าของบางคนจะรอสักครู่และไม่ปล่อยให้ลูกแมวอันเป็นที่รักออกไปข้างนอก แต่ถ้าแมวเริ่มล้มหงาย ตระกุยประตูและเริ่มร้องด้วยเสียงแปลก ๆ หลายหลายคนกลับรีบเปิดประตูให้ทันทีและนั้นเองคือจุดเริ่มต้นของการจดจำว่าพฤติกรรมแบบไหนที่จะทำให้มันได้ในสิ่งที่เจ้าเหมียวต้องการและเมื่อเรายังทำตามสิ่งที่เหมียวต้องการทุกครั้งหรือบ่อยครั้งเมื่อมันแสดงอาการเหล่านั้นก็จะทำให้กลายเป็นเหมือนคำยืนยันว่าหากเหมี่ยวต้องการสิ่งใดก็เพียงแต่ทำท่าทางหรือแสดงออกแบบนี้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำก็คือกฎง่ายๆ และปฏิบัติตาม ตัวอย่างเช่น “อย่าปล่อยให้ลูกแมวของคุณออกไปข้างนอกไม่ว่าในกรณีใด ๆ” หากคุณปฏิบัติตามกฎนี้เป็นเวลาสองสามสัปดาห์ และเพิกเฉยต่ออารมณ์ฉุนเฉียวทั้งหมด คุณจะเห็นว่าลูกแมวของคุณจะทำตัวดีเหมือนปรกติแม้ไม่ได้ออกไปนอกบ้าน แต่กับแมวเล็กๆเท่านั้นนะที่เราแนะนำเพราะแมวที่โตแล้วถูกตามใจมานานมันอาจจะต้องใช้เวลาและการฝึกที่มากกว่านี้

แมวต้องการชื่อหรือไม่?

© nekonomania
จากการเก็บข้อมูลเราพบกว่าแมวจำชื่อของตัวเองได้แต่ที่เราเรียกแล้วมันทำท่าทางเหมือนไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจเป็นเพราะว่ามันเลือกที่จะไม่สนใจต่างหาก แล้วชื่อของสัตว์เลี้ยงมันจะยังจำเป็นอยู่อีกหรือเปล่าละถ้าเป็นแบบนี้ เราก็ขอบอกเลยว่าการมีชื่อนั้นดีกว่าไม่มีเยอะเลยเพราะเมื่อมีสัตว์เลี้ยงหลายตัวที่บ้านและพวกมันถูกเรียกในลักษณะเดียวกัน เพราะไม่มีสัตว์เลี้ยงตัวไหนเลยที่มีชื่อเป็นของตัวเอง นั้นหมายความว่าทุกตัวจะถูกเรียกว่าเหมียวๆซึ่งนั้นก็ยิ่งทำให้แมวของคุณไม่ให้ความสนใจกับคำเรียกนั้นๆ เพราะคุณสื่อสารกับทุกตัวด้วยเสียงนั้น และพอเจ้าเหมียวไม่รู้สึกถึงการสื่อสารที่คุณมีแต่น้องเหมียวแล้วละก็ในที่สุดเหมียวเองก็จะหมดความสนใจในตัวคุณไปเรื่อยๆ ทำเหมือนกับเป็นคนไม่รู้จักกันและเกิดความกังวลเมื่อคุณอยุ่ใกล้ๆทั้งที่คุณเตรียมอาหารและทำทุกอย่างให้ก็ตาม ดังนั้นชื่อเรียกจึงเป็นสิ่งที่ควรจะมรและชื่อที่ดีควรประกอบด้วยคำสั้นๆเพียงแค่ 1-2 พยางค์ก็พอ และคำถามยอดฮิตที่ตามมาก็คือเราสามารถเปลี่ยนชื่อของแมวเราได้หรือเปล่าซึ่งเราบอกเลยว่าคุณสามารถทำได้เพียงแต่ว่ามันจะง่ายขึ้นถ้าชื่อใหม่นั้นมีความคล้ายในการออกเสียงกับชื่อเดิม แต่คุณต้องเรียกมันบ่อยๆเท่านั้นเองเพื่อย้ำว่าต่อไปนี้เสียงแบบนี้คือคำที่เราใช้แทนการเรียกกันและกัน

เจ้าเหมียวมักจะกัดเราทั้งที่กำลังนอนสบายอยู่บนตักและลูบคางเล่นกันอยู่
© cutzmyownhair / Imgur
บ่อยครั้งที่ลูกแมวอาจจะขึ้นไปนั่งหรือนอนบนตักของคุณและเริ่มเลียนิ้วของคุณ และหลังจากนั้นครู่หนึ่งก็เริ่มกัด ซึ่งนั้นหมายความว่าสัตว์ตื่นเต้นมากเกินไปเมื่อถูกคุณเล่นด้วย แต่ยังมีเหตุผลอื่นอีกเช่น พลังงานที่เหลือเฟือจากการที่ไม่ได้วิ่งเล่น ซึ่งหากคุณกำลังลูบหรือเล่นกับแมวอยู่และแมวเริ่มรู้สึกตื่นเต้นมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราสามารถดุจากท่าทางการแสดงออกมาได้ด้วยการกระทำที่ค่อยเปลี่ยนไปเช่นเริ่ทเอาหัวโขกคุณ ถูหน้าคุณ โบกหางของมันไปมา สิ่งที่คุณต้องทำคือให้หยุดทันทีและอาจจะปล่อยมันลงจากตักเพื่อให้มันรู้สึกว่าเป็นอิสระ หรือบางครั้งการตอนก็อาจจะทำให้มันเป็นมิตรมากขึ้นและควรศึกษาด้วยว่าหลังตอนแล้วควรจะเล่นหรือทำกิจกรรมกับแมวอย่างน้อยวันละเท่าไหร่

แมวไม่เคยมีแค่หนึ่งดังนั้นทำให้แมวหลายตัวกลายเป็นเพื่อนกันได้อย่างไร
© Misaochan2 / Wikimedia Commons
เจ้าของแมวก็จะเริ่มคิดที่จะเลี้ยงแมวตัวที่สองเพียงเพราะว่าแมวตัวเดิมของพวกเขาเข้ากับทุกคนได้ดีและชอบที่จะอยู่ใกล้คนในครอบครัว ทำให้เรามักจะเข้าใจกันไปเองว่าการมีเพื่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแมว และพวกเขาคิดว่าการเพิ่มสมาชิกแมวจะทำให้สัตว์เลี้ยงมีความสุขและหาเพื่อนได้ในยามที่ไม่มีใครอยุ่บ้าน แต่ความรักของแมวที่มีต่อมนุษย์นั้นไม่เกี่ยวอะไรกับความรักที่พวกมันมีต่อสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ลูกแมวก็ไม่ต้องการแบ่งปันความรักกับคนอื่น นั่นเป็นเหตุผลที่คุณควรพยายามค้นหาทัศนคติของสัตว์เลี้ยงที่มีต่อสัตว์อื่นๆ ก่อนที่จะหาคู่หูสำหรับพวกมัน บางทีคุณอาจจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดเพียงคนเดียวและดีที่สุดของพวกเขาอยู่แล้ว

ที่ต้องบอกแบบนี้ก็เพราะว่าไม่ว่าแมวหรือหมาหรือสัตว์เลี้ยงแบบไหนก็ตามต่างก็เป็นสัตว์ที่หวงอาณาเขตด้วยสัญชาตญาณที่อยู่ลึกๆของพวกเขานั้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพาเอาเจ้าเหมียวเข้ามาอยู่ในอพาร์ตเมนต์หรือบ้านขนาดเล็กที่มีพื้นที่ไม่มากทำให้พวกเค้าไม่สามารถมีพื้นที่ส่วนตัวมากพอและพวกเขาจะเห็นว่าเจ้าเหมียวตัวอื่นเป็นเหมือนคู่แข่งที่เข้ามาเพื่อใช้ทรัพยากรในอาณาเขตของตน นั่นเป็นเหตุผลที่พวกเขามักจะแสดงความก้าวร้าวหรือหวาดกลัวได้

ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงก็คือปฏิกิริยาแรกของการพบกัน นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันแนะนำให้พวกเขารู้จักกันตั้งแต่หน้าประตูบ้าน และควรทำทีละน้อยจะดีกว่า ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงใหม่เข้ามาพบหรือปล่อยให้อยู่ด้วยกันในทันทีสิ่งที่เราแนะนำคือวางสัตว์เลี้ยงไว้คนละห้องเพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงกัน หลังจากนั้น ลูบไล้พวกมันด้วยผ้าเช็ดหน้าผืนเดียวกันเพื่อแนะนำกลิ่นของกันและกัน โดยนำผ้าเช็ดหน้าที่มีฟีโรโมนของแมวตัวใหม่ไปหาตัวเก่า และในทางกลับกัน ขั้นตอนต่อมาก็คือการ “แลกเปลี่ยน” ห้องของแมวเพื่อให้สามารถตรวจสอบอาณาเขตของกันและกันได้

© Cat Lady’s Diary
และถึงแม้ว่าแมวของคุณจะเป็นพี่น้องกันก็ตามการที่จะมีอยุ่จำนวนมากมากก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่สามารถทำได้โดยง่ายเลย ถึงแม้ว่าในตอนแรกที่คุณรับพวกมันมาจากครอบครัวเดียวกันก็ตาม ในช่วงแรกที่มันยังเด็กมันอาจจะเป็นเพื่อนเล่นที่ดีแต่กันแต่พอถึงวัยที่พอสมควรแล้วละก็มันจะเริ่มประกาศเขตแดนและมองอีกฝ่ายว่าเป็นแค่คู่แข่งเท่านั้น ซึ่งหากที่บ้านของใครไม่มีปัญหานี้ก็ขอแสดงความยินดีด้วยแต่นั้นไม่ได้เป็นข้อการันตีว่าการเลี้ยงในรอบหน้าจะยังสงบสุขดีอยู่

© pimapen / pikapu

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย สัพเพเหระ