5 ปรากฏการณ์ในตัวเราที่เกิดขึ้นเองแบบที่เราไม่รู้ตัว

369

การจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปมันย่อมจะต้องเกิดจากการที่เราคิดและตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนหรือได้รับข้อมูลที่มากเพียงพอที่จะทำสิ่งเรานั้นฟังดูแล้วก็เป็นหลักการทั่วไปสำหรับการคิดลงมือทำและตัดสินใจจากเพื่อนเพื่อนทราบไหมว่าอันที่จริงแล้ว ในตัวเราเองนั้นมีคนไกลบางอย่างที่ทำงานอย่างอัตโนมัติและทำบางเรื่องลงไปแบบที่เราไม่รู้สึกตัวด้วยนะ ซึ่งสิ่งเรานั้นก็มีการรวบรวมเป็นข้อมูลและตั้งชื่อถึงปรากฏการณ์เหล่านั้นอีกด้วยวันนี้พวกเราชาวสัพเพเหระก็เลยอยากจะเอาเรื่องราวสนุกสนานของกลไกการทำงานที่อยู่ภายในซึ่งเราอาจจะคาดไม่ถึงมาให้เพื่อนเพื่อนได้อ่านกัน

ปรากฏการณ์บาร์นัม (Barnum effect) คือการทำให้คุณคิดและเกิดความเชื่อ จากคำบอกเล่าที่เรียบง่าย
ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่ามันเป็นเรื่องที่เราทุกคนก็สามารถเป็นได้และเกิดกับเราได้เสมอเมื่อเรารู้สึกไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง ลองคิดภาพว่าคุณได้ข้อความบางอย่างจากบางแล้วพอได้อ่านดูผ่านๆ ก็กลับรู้สึกว่านั้นเป็นสิ่งที่คุณคิดหรือกำลังเผชิญอยู่หรืออาจจะผ่านมาแล้วคุณก็จะเริ่มให้ความสนใจและเชื่อถือคนเหล่านั้นมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วเราอยากจะบอกว่ามันก็มีกลวิธีอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกอย่างนั้นได้ด้วยชุดคำถามธรรมดาทั่วไปนี้แหละอย่างเช่น หนึ่งในเป้าหมายหลักในของคุณคือความมั่นคง หรือ คุณชอบที่จะให้คนอื่นๆชื่นชมในงานที่คุณทำ หรือ บางครั้งคุณอาจจะกำลังส่งสัยและคิดวนไปกับสิ่งที่ทำผ่านมาแล้ว ถ้าใครมาถามแบบนี้กับเพื่อนเพื่อนแล้วละก็หลายคนก็คงคิดในใจว่าเค้ารู้ได้ยังไงทั้งที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก แต่เราอยากจะบอกว่านั้นไม่แปลกเลยเพราะอันที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่ก็จะมีแนวคิดกลางๆ ที่คล้ายๆกันนี้แหละดังนั้นคำถามกลางๆแบบนี้จึงทำให้เราทึกทักไปเองว่าเค้าพูดถูกและรู้เรื่องของตัวเรานั้นเอง ซึ่งนำไปสู่ความเชื่อใจและยอมทำตามคำแนะนำในที่สุด

พวกเราล้วนคิดไปเองและกังวลในสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่มีอยู่จริง
ที่เราบอกไปแล้วข้างต้นว่าอันที่จริงแล้วพวกเราส่วนใหญ่มักจะมีเรื่องกังวลหรือให้คิดมากในเวลาที่เราต้องทำสิ่งไม่ใหม่หรือบางครั้งต้องพบเจอกับเพื่อนใหม่หรือเรื่องราวที่ไม่คุ้นเคย อย่างเช่นการพูดในที่สาธารณะหรือการรับหน้าที่นำเสนอรายงานในที่ประชุมเป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเรามักจะคิดว่าผู้ฟังหรือคนอื่นๆที่กำลังมองดูเราอยู่นั้นกำลังสนใจในสิ่งที่เราทำผิดพลาดหรือกำลังหาจุดที่เราทำไม่สมบูรณ์เพื่อดำหนิอยู่ แต่อันที่จริงแล้วมันอาจจะ เป็นแค่เพียงความคิดกังวลของคุณเท่านั้นที่สร้างเรื่องราวเหล่านั้นขึ้น เพราะคุณไม่มั่นใจในตัวเองหรือในสิ่งที่กำลังทำอยู่นั่นเองดังนั้นทางออกที่ดีของสถานการณ์นี้นั่นก็คือให้คุณลองฝึกซ้อมในสิ่งที่คุณซึ่งได้รับมอบหมายหรือทดลองทำมันหลายหลายครั้งจนชินก่อนที่จะ ออกไปแสดงให้คนอื่นอื่นได้ชมนั้นเอง

การพลั้งปากพูด (Freudian slips)
เพื่อนเคยพูดสิ่งที่คิดออกมาแบบไม่ตั้งใจกันบ้างหรือเปล่าหรือบางครั้งคุณอาจจะกำลังคิดเรื่องอื่นอยู่ แล้วพอเพื่อนของคุณตั้งคำถามบางอย่างออกมาคุณกลับตอบสิ่งที่กำลังคิดอยู่ซึ่งไม่ตรงกับคำถามเหล่านั้นเลย แน่นอนว่าใครใครก็น่าจะเคยทำสิ่งนี้ และเราเรียกมันว่าปรากฏการณ์ Freudian slips หรือ parapraxis ซึ่งมันเป็นการทำงานของจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลานั้นเอง และเมื่อพลังของจิตสำนึกที่คุณใช้อยู่อ่อนแรงลงหรืออาจจะกำลังคิดอย่างสนุกสนานภายในจินตนาการแล้วมีสิ่งภายนอกมากระทบทำให้คุณหลุดพูดถึงสิ่งที่กำลังคิดออกมาจริง ๆ ก็ได้ ดังนั้นเวลาที่คุณอยากจะคิดเรื่องที่ไม่อยากให้ใครได้ยินหรือรับรู้ก็ควรจะปลีกตัวไปคิดอยู่เงียบเงียบคนเดียวเป็นการดีที่สุดนะ

การตัดสินใจแบบฮิวริสติก (Availability Heuristic)
ถ้าเราจะบอกว่าเวลาที่เราทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามคนส่วนใหญ่ก็มักจะหาหนทางลัดหรือทางที่ทำให้เราทำงานต่างต่างเหล่านั้นเสร็จได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็เพราะว่าพวกเราอยากที่จะอยู่สบายๆหรือเหนื่อยให้น้อยที่สุดนั้นแหละ แต่สีเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงานภายในร่างกายและความคิดของเราด้วยเช่นเดียวกันนั่นก็คือการสรุปความและตัดสินใจจากการได้พบเห็นข้อมูลที่เราอ่านหรือฟังมาซึ่งบางครั้งภาพความคิดเหล่านั้นก็อาจจะสร้างผลเสียได้เพราะอันที่จริงแล้วข้อมูลบางอย่างมันก็น้อยเกินไปแต่เราก็ดันไปสรุปความแล้วก็มี อย่างเช่นที่เห็นกันง่ายๆเลยเมื่อมีข่าวว่ามีฉลามที่ชายหาดและมีคนบาดเจ็บบางคนก็อาจจะเปลี่ยนแผนการท่องเที่ยวทะเลในสัปดาห์นี้ไปทันที่เลยทั้งที่จริงแล้วมันอาจจะเป็นเรื่องราวของที่อื่นหรือคนละที่กับที่คุณจะไปด้วยซ้ำ ดังนั้นครั้งหน้าที่คุณได้รับข้อมูลต่าง ๆ เราจึงอยากให้เพื่อนเพื่อนอ่านข้อมูลให้ละเอียดหรือครบถ้วนก่อนและอย่าพึ่งยึดติดไปกับการตัดสินใจในครั้งแรกนั่นเอง

บางครั้งความคิดก็เล่นตลกกับเราด้วยการสร้างความจำที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็เป็นได้ หรือจะเรียกว่ามโนไปเองก็คงได้แหละ (False memory)

บางครั้งบางคราวเราก็คิดว่าเราได้ทำบางสิ่งบางอย่างแล้วแต่อันที่จริงกลับกลายเป็นว่ามันไม่เคยเกิดขึ้น สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะความเหนื่อยล้าหรืออาจจะเป็นเพราะเป็นสิ่งที่คุณไม่อยากทำก็เป็นไปได้ อย่างเช่นการทำงาน บางอย่างหรือการทำความสะอาดบ้านเป็นต้นซึ่งมันอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่คุณไม่อยากทำ ดังนั้นช่างสมองของเราจึงสร้างเรื่องราวหรืออีกความทรงจำหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานเหล่านั้น อย่างเช่นการล้างจานหรือถ้วยกาแฟที่ทานในตอนเช้าก่อนออกไปทำงาน เพื่อนบางคนของเราคิดว่าได้ทำสิ่งนี้ไปเรียบร้อยแล้วแต่อันที่จริงพอกลับถึงบ้านในตอนเย็นก็ยังคงเห็นเจ้าถ้วยกาแฟวางอยู่ในซิงล้างจานอย่างเดิม หรือบางครั้งเจ้าสิ่งนี้ก็อาจจะเกิดจากการรับข้อมูลซ้ำๆจนทำให้เราคิดและเข้าใจไปเองว่ามันเคยเกิดขึ้นจริง ๆ นั้นเอง ตัวอย่างหนึ่งที่เราพบนั้นก็คือมีการนำของเล่นที่ดูเก่าจากสวนสนุกไปเก็บไว้รวมกับของเล่นชิ้นอื่นๆ แล้วพอเราพาผู้ทดสอบเข้าไปและเริ่มเล่ารายละเอียดต่าง ๆ ซ้ำหลายหลายครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นคือเค้าเริ่มอธิบายถึงการไปเที่ยวสวนสนุกตามที่เราให้ข้อมูลไปและคิดว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ ทั้งๆที่อันที่จริงแล้วมันเป็นแค่เรื่องที่แต่งขึ้นเท่านั้นเอง ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าจิตใจของเรานั้นพยายามสร้างความทรงจำปลอมเหล่านั้นขึ้นมาจากความเชื่อและข้อมูลแวดล้อมเท่านั้นนี้แหละที่เราอยากให้เพื่อนเพื่อนตั้งใจและคิดให้รอบครอบก่อนที่จะเชื่อในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ถูกส่งต่อต่อกันมานั้นเอง

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside — เรียบเรียงโดย สัพเพเหระ